นายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง (สกย.) นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา เปิดเผยว่า ราคายางพาราได้ขยับขึ้นมาประมาณ 2 สัปดาห์ วัน 1-3 บาท/กก. ขณะนี้ราคาน้ำยางสดราคาประมาณ 63 บาท/กก. และยางรมควันประมาณ 70 บาทกว่า/กก. ซึ่งยางพาราราคาในระดับนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในสวนยางในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เปิดเผยว่า สาเหตุที่ราคายางขยับขึ้นเนื่องจากการระบาดของโรคใบร่วงยางพาราเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 และต่อเนื่องตลอดปี 2563 โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ จ.สงขลา มีการระบาดอย่างหนักและรุนแรง เฉพาะ จ.นราธิวาสมีพื้นที่สวนยางพาราได้รับผลกระทบประมาณ 770,000 ไร่ จากพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมดประมาณ 900,000 ไร่
ส่งผลให้ปริมาณน้ำยางลดลงประมาณ 40-50% ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ 70-80% มีอาชีพทำสวนยางพารา กรีดยางจึงเป็นผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงเร่งหาทางแก้ไข
เพื่อให้เกิดการยับยั้งโรคให้เร็วที่สุด ส่วนระยะยาวจะเร่งจัดหางบประมาณมาเพื่อบำรุงรักษา ซึ่งจำเป็นต้องฟื้นสภาพโดยเร็ว รวมทั้งปรับเปลี่ยนเทคนิคกระบวนการทำสวนยาง โดย ศอ.บต.จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงหนุนเสริม
นายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง (สกย.) นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โรคยางใบร่วงขณะนี้เกิดขึ้นในภาคใต้หลายจังหวัด จากข้อมูลเบื้องต้น ประมาณ 1 ล้านไร่ แต่ในช่วงนี้น้ำยางยังออกดี เพราะว่าเกิดสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น
แต่ถ้าหลังเดือนกุมภาพันธ์พ้นไปแล้ว เข้าสู่หน้าแล้งยางผลัดใบ ตั้งแต่เดือนมีนาคม เมษายน น้ำยางจะหดตัวไป เพราะน้ำยางจะหันไปหล่อเลี้ยงยอดและใบ และในส่วนยางที่เป็นโรคใบร่วง น้ำยางจะหดหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่งจากที่จะให้ผลผลิตกว่า 2 กก./ไร่ จะเหลือประมาณ 1 กก./ไร่ หากคำนวณ 1,000,000 ไร่
ที่เป็นโรคยางใบร่วง น้ำยางจะหดหายไปกว่าประมาณ 1,000,000 กก./วัน โดยราคาเฉลี่ยยืนที่ 45 บาท/กก. เงินจะหายไปประมาณ 45 ล้านบาท/วัน ภาพรวมกรีดยางประมาณ 20 วัน/เดือน โดยอีก 10 วัน จะเป็นวันหยุดกรีด จะเป็นเงินที่หายไปประมาณ 900 ล้านบาท/เดือน ที่ชาวสวนยางจะได้ในส่วนทางภาคใต้
รายงานข่าวจากสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ปี 2564 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีเนื้อที่กรีดยางพาราประมาณ 20.46 ล้านไร่ ลดลงจาก 20.58 ล้านไร่ ในปี 2563 หรือลดลงร้อยละ 0.58
และคาดว่าผลผลิตมีประมาณ 4.78 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.68 ล้านตัน ของปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 เพราะมีเนื้อที่กรีดยางได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยเป็นยางดิบประมาณ 237 กก./ไร่ จาก 231 กก./ไร่
ในปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกยางปี 2564 ของไทยจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ประมาณ 4.09 ล้านตัน และการใช้ยางของโลกน่าจะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งการส่งออกและทางด้านราคาด้วย