ข้าวโภชนาการสูง(High nutrious rice) คือ ข้าวที่มีคุณค่าทางอาหาร ในปริมาณสูงกว่าข้าวทั่วไป มีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิเช่น สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้แก่ แอนโทไซยานิน(Anthocyanin) แกมมาโอไรซานอล(gamma oryzanol) วิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอล ฟลาโวนอยด์ ฟีโนลิก เป็นต้น ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และวิตามิน B1 B2 B3 โอเมก้า 3 6 9 และสาร ASGs (Acylated steryl glucosides) ช่วยการทำงานของอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
ข้าวโภชนาการสูง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มข้าวสีประเภท ข้าวกล้องที่มีสีแดง ม่วงเข้มและสีดำ สารที่มีคุณค่าทางอาหารจะพบที่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว วันนี้ พามารู้จัก กับสายพันธุ์ข้าวตลาดเฉพาะที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ว่ามีสายพันธุ์อะไรกันบ้าง
ข้าวพันธุ์กข43 ถูกคัดเลือกจากการผสมข้ามพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี(พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี มีการรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 แหล่งปลูกข้าวพันธุ์กข43 ในปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่
ข้าวขาวกอเดียว 35 ข้าวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิจิตรคัดเลือกมาจากข้าวขาวกอเดียวที่อยู่ในงานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว มีคุณภาพการหุงต้มดี ปลายข้าวทำผลิตภัณฑ์เส้นได้ดีเป็นที่ต้องการของตลาดค้าข้าว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เก็บรวบรวมพันธุ์ในปี 2527 ที่บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก กิ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ข้าวทับทิมชุมแพ เกิดจากการผสมพันธุ์ของสายพันธุ์ข้าวระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นสายพันธุ์กลายที่มีลักษณะ ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้ ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นแม่พันธุ์ กับข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยดพัทลุง ซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ไวต่อช่วงแสง อายุหนัก ต้นสูง มาเป็นพ่อพันธุ์
ข้าวเจ้าพันธุ์มะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยีและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมที่ได้จากการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง
ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในสร้างพันธุ์ “ข้าวหอมมะลิ+4” ที่สามารถต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง เพลี้ยกระโดด และทนน้ำท่วมฉับพลันได้พร้อมๆกัน โดยใช้เวลาเพียง 4 ปี ได้นำเอายีนจำนวนมากกว่า 10 ตำแหน่ง มาในช่วงเวลาเดียวกันทีมนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้สร้างพันธุ์ข้าวหอมนาชลประทานที่รวมยีนกว่า 10 ตำแหน่งเดิมนี้มาไว้ในข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ที่มีผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และมีดัชนีน้ำตาล ต่ำกว่าข้าวบัสมาติที่มีชื่อเสียงในเรื่องดัชนีน้ำตาลต่ำของอินเดีย ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทานที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ข้าวผกาอำปึล หรือ ปะกาอําปีล เป็นข้าวจ้าวพื้นถิ่นเมืองสุรินทร์ ผกาอำปึล แปลว่า “ข้าวดอกมะขาม” ซึ่งเป็นข้าวที่มีถิ่นกําเนิดแถบตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา เมื่อสุกแก่เปลือกของข้าวมีสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม และสีดําคล้ำในเปลือกเดียวกัน เหมือนสีของดอกมะขามซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ผกาอำปึล มีเมล็ดข้าวเรียวยาว เมื่อขัดขาวจะมีสีขาวเหมือนข้าวหอมมะลิ เมล็ดจะเล็กกว่า มีสีใสแววมันกว่า หากสีเป็นข้าวกล้องจะมีสีเขียวออกน้ำตาลอ่อนๆ รสชาตินุ่มเหนียว หนึบๆ จนเป็นที่มาของเอกลักษณ์เฉพาะของข้าวผกาอำปึลนี้
ข้าวพญาลืมแกงเป็นข้าวเหนียวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่ชาวบ้านอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ปลูกและเก็บไว้รับประทานสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนแต่ด้วยเพราะการดูแลรักษาที่ค่อนข้างยาก ต้องปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้าเก็บเกี่ยวไม่ทันจะทำให้ได้ผลผลิตน้อย ชาวบ้านจึงปลูกในปริมาณที่ไม่มาก เพียงพอแค่เก็บไว้บริโภคในครอบครัวเท่านั้น
ข้าวหอมดําสุโขทัย 2 มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย“หอมดําสุโขทัย 2” มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย
ข้าวหอมแดงสุโขทัย 1 มีลักษณะเด่นคือเป็นข้าวกล้องสีแดงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและให้ผลผลิตสูงลําต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่ายได้ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง
ข้าวพิษณุโลก 80 ได้จากการผสมสามทาง ระหว่างพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 และ IR56 กับ กข27 เมื่อ พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2535 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ข้าวมะลินิลสุรินทร์ เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ถือเป็นข้าวกล้องสีดำ มีเมล็ดเรียวยาว โดยมีคุณปะโยชน์ทางโภชนาการอยู่มากมาย มีปริมาณอไมโลสต่ำ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ คุณภาพข้าวสุกนุ่มและมีกลิ่นหอม ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์มีโปรตีนเป็น 2 เท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายอาทิเช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพรแตสเซียม แคลเซียม และวิตามินบีหลายชนิด
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สํานักวิจัย และพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ได้จาก การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต่างสีพันธุ์พื้นเมืองไวต่อแสง พันธุ์มะลิแดงเบอร์ 54 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ปี 2548
ข้าวสินเหล็กถือเป็นข้าวกล้องมีสีครีมมีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นที่ต้องการในตลาดข้าวโภชนาการ ถือเป็นข้าวที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้าวสินเหล็กได้จากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวสีขาวที่มีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี
ข้าวพันธุ์หอมกระดังงา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มี การปลูกในจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยข้าวพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมคล้าย ดอกกระดังงาเป็นลักษณะเฉพาะ เมล็ดข้าวมีสีน้ําตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ข้าวกล้องมีสีแดง เป็นพันธุ์ข้าวกล้องที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าว เพื่อสุขภาพ
ข้าวพันธุ์ กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-373-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเป็นพันธุ์พ่อ คัดเลือกพันธุ์ ปลูกทดสอบผลผลิต ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ CNT0718-26-1-1-1 โดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทมีมติให้เป็น พันธุ์รับรองชื่อ กข79 (ชัยนาท 62) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ข้าวหอมกุหลาบแดง เป้นข้าวเจ้าจากการผสมสายพันธุ์ที่ดี ของศูนย์วิจัยข้าวแพร่ อุดมไปด้วยวิตามินนานาชนิด อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ” มีโปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม สังกะสี เหล็ก วิตามิน B1, B2, B6 และวิตามิน E เป็นสายพันธุ์ที่เป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง และมีลักษณะต่างๆตามที่ต้องการ ต่อมาพ.ศ. 2542 สถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็น พันธุ์ข้าวทั่วไป
ข้าวหอมชลสิทธิ์ เป็นลูกผสมของข้าวทนน้ำท่วมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 หอมชลสิทธิ์ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้ทั้งปี ข้าวหอมนิล เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เมล็ดพันธุ์ข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม เมื่อหุงสุกจะเหนียวและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ถูกพัฒนาสายพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวเจ้าไวต่อแสง ปลูกในฤดูนาปี จะออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม และถือเป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์จากข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
ข้าวพันธุ์อัลฮัมดูลิลละห์ หรือข้าวขาวสตูล เรียกสั้นๆว่า ข้าวอัลฮัม มาจากภาษายาวี อัลฮัม หมายถึง พระผู้เป็นเจ้า และลิลล๊ะ แปลว่า ขอบพระคุณ โดยนัยแล้วข้าวอัลฮัมจึงมีความหมายถึง พันธุ์ข้าวที่พระผู้เป็นเจ้าประทานผลผลิตตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยของชาวนา เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวมุสลิมทางภาคใต้ ปลูกในพื้นที่ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ข้าวพันธุ์ชะสอ62 พันธุ์ข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู จากบ้านนามะอื้น หมู่ 12 ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยนายปรัชญา หล่าบรรเทา เจ้าพนักงานการเกษตร 6 สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาข้าว กรมวิชาการเกษตร
ข้าวจ้าวพันธุ์หอมใบเตย คือ เป็นข้าวนาหน้าฝนพันธุ์ดีในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยเกษตรกร ส่วนใหญ่เรียกชื่อข้าวพันธุ์นี้ว่า C85 มาตั้งแต่ก่อน ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว C85 จากแปลงเกษตรกร ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ข้าวเล็บนก-ปัตตานี จากความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จึงทรงพระกรุณาฯ ให้กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้สถานีทดลองข้าวปัตตานี เก็บรวบรวมสายพันธุ์ ข้าวพื้นเมือง ต่าง ๆ ของภาคใต้พบว่า มีสายพันธุ์ข้าวมากกว่า 307 สายพันธุ์ โดยมาจาก 107 อําเภอและ 14 จังหวัด และได้มีการทดลองปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ โดยมีรหัสประจําสายพันธุ์ข้าวนี้ ว่า PTNG 84210 เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมจากตําบลชะรัด อําเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง แล้วให้ชื่อสายพันธุ์นี้ว่า “ข้าวเล็บนก-ปัตตานี”
นอกจากนี้ ยังมี ข้าวเหลืองใหญ่148 เป็นข้าวเจ้าที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์จากข้าวพื้นเมือง โดยศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว และข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งปี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องสีม่วงเข้ม ข้าวหุงสุกนุ่มเหนียว ซึ่งถือเป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข83 ได้จากการคัดเลือกในประชากรพันธุ์ผสมรวม (Composite population) ของข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดําสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 ของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลาย สุรินทร์ 1 หอมสุโขทัย และข้าวเหนียวดําเป็นพันธุ์พ่อแม่ ปลูกคัดเลือก และทดสอบผลผลิตที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย
ข้อมูลที่มา : กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์