สถานการณ์โควิดนราธิวาสดีขึ้น ป่วยติดเชื้อลดลงเหลือไม่ถึง 90 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตต่อเนื่องกว่า 5 วัน ทำยอดรวมติดเชื้อ 4 จังหวัดชายแดนใต้เหลือ 858 ราย ป่วยดับ 10 ราย ขณะที่กลุ่มดะวะห์ยะลาพร้อมใจเข็มปักแขนก่อนร่วมกิจกรรมทางศาสนา ส่วนเบตงติวเข้มผู้ประกอบการสร้างมาตรฐาน COVID Free Setting รับเปิดเมือง
วันจันทร์ที่ 22 พ.ย.64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ทรงตัว และยังคงทำให้สงขลา ปัตตานีและยะลา ติดอยู่ใน 10 อันดับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดของประเทศ มีเพียง จ.นราธิวาส ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ลดลงเรื่อยๆ จนล่าสุดต่ำกว่า 90 ราย ที่สำคัญไม่พบผู้เสียชีวิตต่อเนื่องมากว่า 5 วันแล้ว
จากข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. พบว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมของสามจังหวัดชายแดนใต้ และ จ.สงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 22 พ.ย.64 มีจำนวนผู้ติดเชื้อ (ไม่รวมผู้ต้องขังในเรือนจำ) อยู่ที่ 189,050 ราย
ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา วันที่ 22 พ.ย.64 มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รวม 858 ราย และเสียชีวิต 10 ศพ แยกตามจังหวัดได้ดังนี้
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 457 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 59,077 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 59,054 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 5,962 ราย รักษาหายแล้ว 52,871 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตใหม่ 5 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 244 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 2,366 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 13,745 ราย, อ.เมืองสงขลา 7,851 ราย, อ.จะนะ 7,711 ราย, อ.สิงหนคร 5,015 ราย, อ.สะเดา 4,531 ราย, อ.เทพา 4,485 ราย, อ.รัตภูมิ 3,517 ราย, อ.สะบ้าย้อย 3,305 ราย, อ.นาทวี 1,621 ราย, อ.บางกล่ำ 1,483 ราย, อ.ระโนด 1,015 ราย, สทิงพระ 837 ราย, ควนเนียง 754 ราย, อ.นาหม่อม 611 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 371 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 82 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,301 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 782 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 169 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 44,870 ราย รักษาหายแล้ว 28,939 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 3 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 433 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 141 ราย, โรงพยาบาลสนามจังหวัด 76 ราย, โรงพยาบาลสนามอำเภอ 328 ราย, โรงพยาบาลชุมชน 446 ราย, โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 1 ราย, โรงพยาบาลสนามค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย 153 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 42 ราย, สิโรรส-ปาร์ควิว ฮอสพิเทล 139 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส เรนโบว์ ฮอสพิเทล 125 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส-ดิอามาน รีสอร์ท 23 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์สะพานปูน – โรงยิมบานา 26 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์ เซาท์เทิร์น วิว 144 ราย และ Home Isolation 769 ราย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยันสะสมแยกตามรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 11,433 ราย, อ.ไม้แก่น 1,104 ราย, อ.ยะหริ่ง 3,510 ราย, อ.หนองจิก 4,392 ราย, อ.โคกโพธิ์ 2,680 ราย, อ.สายบุรี 5,472 ราย, อ.แม่ลาน 685 ราย, อ.ยะรัง 4,282 ราย, อ.ปะนาเระ 1,671 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 2,062 ราย, อ.มายอ 4,480 ราย และ อ.กะพ้อ 1,744 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 86 ราย แยกเป็นพื้นที่ อ.เมือง 36 ราย, อ.ตากใบ 6ราย, อ.ยี่งอ 3 ราย, อ.จะแนะ 1 ราย, อ.รือเสาะ 18 ราย, อ.บาเจาะ 15 ราย, อ.ระแงะ 4 ราย, อ.ศรีสาคร 1 ราย, อ.เจาะไอร้อง 2 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 41,445 ราย รักษาหายสะสม 40,307 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 378 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 8,220 ราย, อ.ระแงะ 4,807 ราย, อ.รือเสาะ 2,228 ราย, อ.บาเจาะ 3,584 ราย, อ.จะแนะ 1,749 ราย, อ.ยี่งอ 3,000 ราย, อ.ตากใบ 3,141 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 3,581 ราย, อ.สุไหงปาดี 3,350 ราย, อ.ศรีสาคร 2,090 ราย, อ.แว้ง 2,294 ราย, อ.สุคิริน 1,186 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 2,215 ราย
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 146 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 46,187 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2,612 ราย รักษาหายแล้ว 45,530 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 323 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 16,476 ราย, อ.เบตง 4,854 ราย, อ.รามัน 6,161 ราย, อ.ยะหา 5,463 ราย, อ.บันนังสตา 7,118 ราย, อ.ธารโต 2,365 ราย, อ.กาบัง 1,242 ราย และ อ.กรงปินัง 2,508 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 2,612 ราย แยกเป็นโรงพยาบาลยะลา 123 ราย, โรงพยาบาลเบตง 64 ราย, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 6 แห่ง 266 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 137 ราย, โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 94 ราย, โรงพยาบาลสนามเบตง 151 ราย, โรงพยาบาลสนามรามัน 30 ราย, โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 0 ราย, โรงพยาบาลสนามยะหา 44 ราย, โรงพยาบาลสนามธารโต 8 ราย, โรงพยาบาลสนามกรงปินัง 75 ราย, โรงพยาบาลสนามกาบัง 28 ราย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.12 ยะลา 21 ราย, Hospitel ยะลา 6 ราย, Hospitel เบตง 128 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 999 ราย , ผู้ป่วยแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) 438 ราย
@@ ดะวะห์ยะลาพร้อมใจ “เข็มปักแขน” ก่อนร่วมกิจกรรมศาสนา
ที่ศูนย์มัรกัสตาเซะ หมู่ 3 ต.ตาเซะ อ.เมือง จ.ยะลา บรรดากลุ่มผู้นำดะวะห์ตับลีฆ จำนวนกว่า 200 คน ทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 2 และเข็มที่ 1 อย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่จังหวัดยะลายังคงเดินหน้าการฉีดเพื่อให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ภายในเดือน ธ.ค.64 นี้ เพื่อเตรียมเปิดเมือง
นายธราวุธ ช่วยเกิด นายอำเภอเมืองยะลา ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมพร้อมให้กำลังใจแก่ผู้เข้ารับการฉีด พร้อมกล่าวว่า อำเภอเมืองมีการสำรวจประชาชนเป็นรายครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนแสดงความจำนงในการขอรับรับวัคซีน โดยขณะนี้มี ต.บันนังสาเรง กับ ต.เปาะเส้ง ที่ยังมีจำนวนน้อย ก็ได้เร่งเข้าไปทำความเข้าใจแล้ว ซึ่งคิดว่า ภายในเดือน ธ.ค.นี้ จะสามารถครอบคลุมในทุกตำบล เพื่อสอดรับกับนโยบายผู้ว่าฯ ที่เตรียมจะเปิดเมือง
อย่างไรก็ตามขณะนี้ในส่วนของอำเภอเมืองยะลาประชาชนฉีดวัคซีนไปแล้วเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว
ด้าน นายนิลี นิบือซา ผู้รับใบอนุญาตสถาบันปอเนาะดารุลฟุรกอนบินตียา ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ซึ่งได้นำนักเรียนในสถาบันปอเนาะมาเข้ารับการฉีดวัคซีน กล่าวว่า ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อป้องกันโควิด-19 ในทุกช่องทาง ล่าสุดตอนนี้เด็กนักเรียนปอเนาะฉีดวัคซีนเกินกว่า 50% แล้ว ส่วนเรื่องการจัดการก็เป็นไปตามมาตรการทุกอย่าง ก่อนเข้าโรงอาหารให้ล้างมือและจัดที่นั่งเว้นระยะห่างกัน เมื่อก่อนจะกินในถาดรวมกัน แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นกินในจานของใครของคนนั้น และก่อนเข้าเรียนทุกครั้งต้องใส่หน้ากากอนามัยกันทุกคน
ชาวดะวะห์ตับลีฆ มัรกัสตะเซะ กล่าวว่า กลุ่มผู้นำดะวะห์ตับลีฆทุกท่านพยายามเป็นแบบอย่างให้กับสาวกที่ทำงานดะวะห์ (เผยแผ่) ให้ได้รับวัคซีนอย่างน้อยคนละ 2 เข็ม เพื่อรองรับกิจกรรมศาสนาในวันที่รัฐบาลกำหนดเปิดประเทศ จะได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในขณะนี้ส่วนใหญ่มีการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม หลังจากนี้เชื่อว่า กลุ่มดะวะห์ทุกคนจะพร้อมใจกันรับวัคซีนครบ 2 เข็มกันถ้วนหน้า ตามนโยบายป้องกันโรคระบาดของจังหวัดยะลา
@@ เบตงติวเข้มผู้ประกอบการรับเปิดเมือง
ความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมในการเปิดเมืองเบตง จ.ยะลา เพื่อรองนักท่องเที่ยวในฐานะพื้นที่นำรอง นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอำเภอเบตง (ผอ.ศปก.อ.เบตง) มอบหมายให้ ศปก.ทุกตำบล ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างมาตรฐาน COVID Free Setting (Thai stop COVID) แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร โฮมสเตย์รีสอร์ทในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน ร้านค้า และผู้ใช้บริการ ด้วยมาตรการที่เข้มข้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเมืองเบตงให้การรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวให้อำเภอเบตง
นายวงศ์วิทย์ อัครวโรทัย สาธารณสุขอำเภอเบตง กล่าวว่า การยกระดับมาตรการ ความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในสถานประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดนั้น ขอให้ร้านอาหารเข้าประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus และประเมินมาตรฐาน COVID Free Setting (Thai Stop COVID) รวมทั้งให้พนักงานต้องประเมินผ่านระบบไทยเซฟไทย ก่อนปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมมาตรการที่จะบังคับใช้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการในการป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการดำเนินการตามมาตรการควบคุม และป้องกันโรคโควิด-19 แนวใหม่ (Smart Control and Living with COVID-19) ที่นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่และการมีวิถีชีวิตของประชาชนที่ปลอดภัยต่อไป